มาตรการรับมือแผ่นดินไหว
คลิกที่รูปเพื่อขยายใหญ่ |
คลิกที่รูปเพื่อขยายใหญ่ |
ที่มา: สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพ
สิ่งของจำเป็น
การเตรียมตัวสำหรับรับมือเหตุแผ่นดินไหว ควรมีการจัดเตรียมสิ่งของจำเป็นเอาไว้ล่วงหน้า เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้น จะได้สามารถใช้อุปกรณ์ในการเอาตัวรอดเฉพาะหน้าได้ในเบื้องต้น ซึ่งอุปกรณ์ที่ควรจัดเตรียมไว้ มีดังนี้
• อาหารแห้ง เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจัดเตรียมไว้ภายในบ้าน สำหรับรองรับเหตุฉุกเฉินในทุกกรณี รวมทั้งเหตุแผ่นดินไหว และควรจัดสำรองไว้สำหรับกระเป๋าฉุกเฉิน เพื่อสามารถพกพาในกรณีต้องอพยพเนื่องจากที่พักอาศัยเสียหายด้วย
• อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉิน ควรจัดสำรองไว้สำหรับกระเป๋าฉุกเฉินคู่กับอาหารแห้ง เพื่อสามารถพกพาในกรณีต้องอพยพเนื่องจากที่พักอาศัยเสียหาย
• กระติกน้ำแบบพกพา ให้จัดเตรียมไว้ในบริเวณที่สามารถหยิบได้ง่าย เพื่อใช้บรรจุน้ำสำหรับการบริโภคในกรณีที่ต้องอพยพ
• เสื้อผ้าสำรอง ควรจัดสำรองไว้ในกระเป๋าฉุกเฉิน เพื่อสามารถพกพาในกรณีต้องอพยพ
• รองเท้าหุ้มส้น ใช้สวมใส่เมื่อเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว เพื่อป้องกันเศษแก้วหรือวัตถุแหลมคมอื่นๆ ที่อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ
• ชุดปฐมพยาบาลและยา ให้จัดเตรียมไว้ในบริเวณที่สามารถหยิบได้ง่าย สำหรับรองรับเหตุฉุกเฉินในทุกกรณี และใช้พกพาในกรณีที่ต้องอพยพ
• เอกสารสำคัญประจำตัว อาทิ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ให้จัดเตรียมไว้ในบริเวณที่สามารถหยิบได้ง่าย เพื่อสามารถพกพาในกรณีที่ต้องอพยพ เป็นหลักฐานยืนยันสถานะสมาชิกในครัวเรือนกับทางภาครัฐ
• วิทยุแบบพกพา พร้อมแบตเตอรี่สำรอง ควรจัดสำรองไว้ในกระเป๋าฉุกเฉิน เพื่อสามารถพกพาในกรณีฉุกเฉิน และใช้รับฟังข่าวสารตลอดจนประกาศต่างๆ จากทางภาครัฐ
• นกหวีด ให้จัดเตรียมไว้ในบริเวณที่สามารถหยิบได้ง่าย และจัดสำรองไว้ในกระเป๋าฉุกเฉิน ใช้สำหรับเป่าเรียกความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน
• ไฟฉาย พร้อมแบตเตอรี่สำรอง ให้จัดเตรียมไว้ในบริเวณที่สามารถหยิบได้ง่าย และจัดสำรองไว้ในกระเป๋าฉุกเฉิน เพื่อสามารถพกพาในกรณีที่ต้องอพยพ
• เครื่องมือดับเพลิงประจำบ้าน ให้จัดเตรียมไว้ในบริเวณที่สามารถหยิบได้ง่าย เพื่อใช้ดับเพลิงไหม้ที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุแผ่นดินไหวในครัวเรือน
การปฏิบัติตัวสำหรับเหตุแผ่นดินไหว
ที่มา: ศูนย์ข้อมูลประชาสัมพันธ์ เตรียมตัว พร้อมใจสู้ภัยธรรมชาติ (http://region3.prd.go.th/natural-disaster/journal6.php)
ก่อนเกิดแผ่นดินไหว
• ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านและกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้านและให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน
• ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
• เตรียมเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น ถังดับเพลิง ถุงทราย
• ควรทราบตำแหน่งของวาล์วน้ำ วาล์วปิดแก๊ส สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
• อย่าวางของหนักบนชั้นหรือหิ้งสูง ๆ เพราะเมื่อเกิดแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตราย
• ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
• ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมายเมื่อเกิดการพลัดหลงกัน
• สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว
• อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติให้สงบ ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกบ้าน
• ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนที่มีโครงสร้างแข็งแรง และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง หน้าต่าง
• ถ้าอยู่ในอาคารสูงควรรีบออกจากอาคารโดยเร็วและหนีห่างจากสิ่งที่อาจจะล้มทับได้
• ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้งให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าและสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ
• ห้ามใช้เทียน ไม้ขีดไฟ ไฟแช้ก หรือสิ่งที่ทำให้เกิดประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วและทำให้ติดไฟได้
• หากกำลังขับรถอยู่ให้หยุดรถและอยู่ในรถ จนการสั่นสะเทือนหยุด
• ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดในขณะที่เกิดแผ่นดินไหว
• หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
หลังเกิดแผ่นดินไหว
• หลังเกิดแผ่นดินไหวควรตรวจสอบดูว่าตนเองและคนข้างเคียงได้รับบาดเจ็บหรือไม่ หากบาดเจ็บให้ทำการปฐมพยาบาลในขั้นต้นจากนั้นให้นำตัวผู้บาดเจ็บส่งสถานพยาบาลหรือหน่วยแพทย์ที่ใกล้ที่สุด
• หากอยู่ในอาคารที่ได้รับความเสียหายควรรีบออกจากอาคารทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาจทำให้อาคารพังลงมาทับ ทำให้ได้รับบาดเจ็บได้
• ควรสวมใส่รองเท้าหุ้มส้น เพราะอาจมีเศษแก้วหรือวัตถุแหลมคมอื่น ๆ ทำให้ได้รับบาดเจ็บ
• ตรวจสอบความเรียบร้อยของสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ และอย่าจุดไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว หากแก๊สรั่วภายในบ้านให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบานเพื่อระบายอากาศ
• ให้ออกจากบริเวณที่มีสายไฟขาดหรือสายไฟพาดถึง
• ให้เปิดฟังวิทยุเพื่อฟังคำแนะนำฉุกเฉิน แต่อย่าใช้โทรศัพท์นอกจากมีความจำเป็น
• สำรวจความเสียหายของท่อน้ำ ท่อน้ำทิ้ง ท่อส้วม ก่อนใช้
• ห้ามเข้าไปมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสี่ยงหรือมีอาคารพัง
• ห้ามเผยแพร่ข่าวลือ