banner-27-10-11

 

            1. มาตรการให้ความช่วยเหลือนิสิตและญาติที่ประสบอุทกภัย
               1.1 เงินช่วยเหลือนิสิต : ตามที่คณะกรรมการบริหารเงินทุนสงเคราะห์สวัสดิการนิสิตฯ เห็นสมควร
                      สถานที่ติดต่อ : ฝ่ายทุนการศึกษาและบริการนิสิต สำนักบริหารงานกิจการนิสิต ชั้น 2  อาคารจุลจักรพงษ์ โทร. 02-2187049 ต่อ 407
               1.2 ทุนการศึกษา  ประเภท ค.
                      สถานที่ติดต่อ : หน่วยกิจการนิสิตคณะที่นิสิตสังกัด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยกิจการนิสิตคณะที่นิสิตสังกัด หรือฝ่ายทุนการศึกษาและบริการนิสิต สำนักบริหารงานกิจการนิสิต ชั้น 2 อาคารจุลจักรพงษ์ โทร. 02-2187049 ต่อ 407
               1.3 การลงทะเบียน  การลงทะเบียนนิสิตระบบทวิภาค ที่แสดงความจำนงขอลงทะเบียนภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2554 ไว้แล้ว แต่ไม่สามารถชำระค่าเล่าเรียนผ่านธนาคารในช่วงวันที่ 17-24 ต.ค. 2554 ได้ สามารถติดต่อชำระค่าเล่าเรียนได้ในช่วงลงทะเบียนเรียนสายระหว่างวันที่ 26 ต.ค. – 17 พ.ย. 2554 เวลา 08.30-12.00 น. และ 13.00-15.00 น. ณ สำนักงานการทะเบียนและประมวลผล ชั้น 2 อาคารจามจุรี 5
               1.4 เลื่อนการเปิดเรียนภาคปลาย : เป็นวันจันทร์ที่ 7 พ.ย. 2554  (เลื่อนครั้งแรก)
                      เลื่อนครั้งที่ 2 : เป็นวันจันทร์ที่ 14 พ.ย. 2554
               1.5 ที่พักพิงชั่วคราว : ที่หอพักจุฬาฯ (ประมาณ 200 ที่)
                      • ติดต่อที่ “คุณประสาท” (โทรฯ 081-6513783)


          2. มาตรการให้ความช่วยเหลือบุคลากรและญาติที่ประสบอุทกภัย
          มาตรการระยะสั้น  
               2.1 เงินยืมฉุกเฉิน โครงการสวัสดิการเงินยืม เพื่อบุคลากรผู้ประสบภัยปี 2554 เป็นโครงการเฉพาะกิจ ระหว่างวันที่ 1 พ.ย. 2554 – 31 มี.ค. 2555 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น เป็นค่าใช้จ่ายด้านการอยู่อาศัย การซ่อมแซม และปรับปรุงที่อยู่อาศัย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ยืมรายละไม่เกิน 20,000 บาท (ไม่คิดดอกเบี้ย)
               2.2 เงินช่วยเหลือจากสหกรณ์ออมทรัพย์ ให้เงินช่วยเหลือกรณีเดือดร้อนจากภัยพิบัติ ไม่เกิน 20,000 บาท และพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป เช่น เป็นเจ้าของบ้าน 8,000 บาท   ผู้อาศัย 4,000 บาท ทั้งนี้ สมาชิกต้องมีรายชื่อในทะเบียนบ้านที่น้ำท่วม รายละเอียดติดต่อได้ที่ 02-2180555 ต่อ 1101
               2.3 ที่พักชั่วคราว
                      (1) หอพักจุฬานิเวศน์ (49 คน)
                      (2) อาคารจามจุรี 9 (420 คน)
                      (3) ที่พักที่คณะ และ สถาบัน
               2.4 ที่จอดรถชั่วคราว   ที่อาคารจามจุรี 9 และ อาคารจอดรถข้างตึกมหาจักรีสิรินธร อาคารจัตุรัสจามจุรี (เต็มแล้ว)
               2.5 การลา หากไม่สามารถเข้ามาปฏิบัติงานได้ ให้ติดต่อหัวหน้าส่วนงาน เพื่อขอลาเป็นกรณีพิเศษ โดยไม่ถือเป็นวันลา
               2.6 นำถุงยังชีพและอาหารพร้อมรับประทานไปให้ชาวจุฬาฯ ใน 4 จุด ที่น้ำท่วมหนัก (ทุ่งสองห้อง, บางบัวทอง, บางขนุน, ศูนย์พักพิง ม.รังสิต)
               2.7 ไปรับชาวจุฬาฯ ที่ประสบภัยน้ำท่วมออกมาพักที่อาคารจามจุรี 9 และที่คณะฯ (4 เที่ยว)
           มาตรการระยะยาว
               2.8 เงินยืมเพื่อซ่อมแซมบ้าน โครงการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อซ่อมแซมที่พักอาศัย และค่าใช้จ่ายอื่น แก่ผู้ประสบอุทกภัยหลังน้ำลด

           3. มาตรการให้ความช่วยเหลือประชาชนทั่วไป จุฬาฯ ได้ประสานความร่วมมือกับนิสิตเก่าจังหวัดต่างๆ และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งคนในพื้นที่ในการเข้าไปช่วยเหลือเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง โดยวางแผนให้ความช่วยเหลือเป็นระบบครบวงจร ทั้งแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
           แผนการระยะสั้น
               3.1 การจัดตั้ง “ Disaster Management Centre” (ศูนย์บริหารจัดการภัยพิบัติ) ที่รวมนักวิชาการชาวจุฬาฯ มาระดมสมอง (เวลา 10.00 น.)
               3.2 แต่งตั้ง “คณะกรรมการประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม”   ซึ่งประชุม  ทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) เวลา 08.00 – 09.30 น.
               3.3 จัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย จุฬาฯ” ที่ศาลาพระเกี้ยว
               3.4 นิสิตออกรับบริจาคเงินตามสถานที่ต่างๆ เพื่อผู้ประสบภัยเท่านั้น (ค่าใช้จ่ายอื่นๆ มหาวิทยาลัยเป็นผู้รับผิดชอบ)
               3.5 หน่วยงานของจุฬาฯ เช่น  สถาบันวิจัยและศูนย์เครื่องมือ   วิทยาลัยปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ได้รวบรวมเครื่องอุปโภคบริโภคไปช่วยประชาชนแล้วที่ จ.อยุธยา และ จ.ลพบุรี
               3.6 ร่วมกับ สนจ. ในการออกไปให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน ที่ จ.สระบุรี  จ.อยุธยา    ม.ธรรมศาสตร์ และที่บางบัวทอง
               3.7 เดินทางไปช่วยผู้ประสบภัยใน 4 อำเภอ ของ จ.สระบุรี   ได้แก่ อ.บ้านหม้อ อ.ดอนพุด  อ.หนองโดน และ อ.เสาไห้ (วันที่ 16 ต.ค.)
               3.8 โครงการ “น้ำเอย น้ำใจ” คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ผลิตครีมทาป้องกันเท้าเปื่อยและเชื้อรา และยาทากันยุง จำนวน 200,000 ชุด เพื่อนำไปแจกจ่ายให้ประชาชน
               3.9 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ สถาบันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ออกพื้นที่ประสบอุทกภัย ตั้งแต่เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2554
               3.10 นำถุงยังชีพและอาหารพร้อมรับประทานไปแจกชาวบ้าน ที่ ทุ่งสองห้อง, บางบัวทอง, บางขนุน, ศูนย์พักพิง ม.รังสิต
               3.11 การพัฒนาโปรแกรมระบบสารสนเทศ ประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วม (Flood Risk locator) ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยประเมินความเสี่ยงจากภัยน้ำท่วมด้วยตนเอง (มีการแถลงข่าว เมื่อวันอังคาร ที่ 25 ต.ค.)
               3.12 การจัดตั้ง “ศูนย์พักพิงกระจายความช่วยเหลือ และรับบริจาค เพื่อนพึ่ง(ภา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ที่ดำเนินการโดย  “มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภา) สภากาชาดไทย & จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ศูนย์นี้มีภารกิจ ที่จะกระจายความช่วยเหลือต่างๆ เช่น
                    • ถุงยังชีพ ไปยังประชาชนที่ประสบความเดือดร้อน โดยพยายามเข้าไปให้ลึกที่สุด (ใช้ทั้งรถและเรือ)
                    • จัดทำอาหารพร้อมรับประทาน ประกอบไปด้วย ข้าวและกับข้าว (ทำใหม่ทุกวัน ) แจกจ่ายไปยังศูนย์พักพิงและประชาชนที่ประสบความเดือดร้อน
               3.13 การจัดตั้งศูนย์พักพิง “เพื่อนพึ่ง(ภา) – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” รับประชาชนที่ประสบความเดือนร้อน จากภัยน้ำท่วม ที่จะทำการบริหารจัดการแบบครบวงจร (Call Centre เบอร์ 02-2184454-57) เช่น
                    • การจัด Organization structure (โครงสร้างการบริหาร) และผู้รับผิดชอบ      
                    • บริการอาหาร & น้ำ
                    • การคัดกรอง การดูแลรักษาทั้งสุขภาพกาย และ สุขภาพจิต
                    • การฝึกสอนอาชีพ นันทนาการ สอนหนังสือ และกิจกรรมต่างๆ
                    • การรักษาความปลอดภัย
                    • การรักษาความสะอาดและสุขอนามัย
                    • การเข้าสำรวจชุมชน 5ส. รอบจุฬาฯ กับการต้องการแหล่งพักพิง
               3.14 การระดมอาจารย์ นักวิชาการจากจุฬาฯ อย่างเร่งด่วน เพื่อจะป้องกันเมืองหลวง (กทม.) ซึ่งเป็นแหล่งสุดท้าย ให้ลดทอนความเสียหายได้อย่างไร ในช่วง “10 วัน อันตราย”
               3.15 การรับเลี้ยงสัตว์เลี้ยง (ยกเว้นสัตว์ใหญ่ เช่น จระเข้ ช้าง แรด เป็นต้น) บริเวณสนามหญ้าหน้า “ธรรมสถาน” มีเต็นท์และกรง รวมทั้งสัตวแพทย์มาดูแลพร้อมให้อาหารอย่างใกล้ชิด ติดต่อ : รศ.น.สพ.ดร.สุดสรร ศิริไวทยพงศ์  (โทรฯ 081-9311518)
               3.16 วิทยุจุฬาฯ ได้ปรับผังรายการเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยการให้ความรู้และความช่วยเหลือต่างๆ
               3.17 การออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ โดยคณะแพทยศาสตร์
                   • มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
                   • ศูนย์พักพิง บางปะอิน
                   • ศูนย์พักพิง ที่ จ.สระบุรี
                   • หลักหก
           แผนระยะกลางและระยะยาว
               การระดมสรรพกำลังของชาวจุฬาฯ ทั้งนิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน คณาจารย์ และบุคลากร จัดทำแผน “การฟื้นฟูสภาพหลังน้ำท่วม อย่างเป็นระบบครบวงจร”