วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2554 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสารนิเทศ ได้มีการประชุมคณบดีวาระพิเศษ โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เพื่อหาทางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ โดยได้วางมาตรการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย โดยการประสานความร่วมมือกับนิสิตเก่าจังหวัดต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชนในพื้นที่ และเข้าไปช่วยเหลือ เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งวางแผนช่วยเหลือเป็นระบบอย่างครบวงจร ดังนี้
1. วิเคราะห์สถานการณ์โอกาสการเกิดน้ำท่วมในเขต กทม.
(คณะทำงาน Disaster Management Center : ศูนย์บริหารจัดการภัยพิบัติแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
2. โครงการ “ชาวจุฬาฯรวมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม”
2.1 นิสิตที่ประสบอุทกภัย
• เงินช่วยเหลือ
• ทุนการศึกษา
• จัดที่พักชั่วคราว (ที่หอพักจุฬาฯ)
• การลงทะเบียน
2.2 บุคลากรที่ประสบอุทกภัย
• โครงการสวัสดิการเงินยืมเพื่อบุคลากรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2554 (รายละไม่เกิน 20,000 บาท)
• โครงการสวัสดิการเงินยืมเพื่อการซ่อมบ้าน (หลังน้ำลด)
• ที่จอดรถชั่วคราว
• ที่พักชั่วคราว
- หอพักจุฬานิเวศน์
- หอพักนิสิต
- คณะ วิทยาลัย สถาบัน
- ยิมเนเซียม 2
- สนามกีฬาในร่ม
• การลา (หากไม่สามารถเข้ามาปฏิบัติงานได้ ให้หัวหน้าส่วนงาน พิจารณาเป็นรายๆ ไป)
2.3 มาตรการให้ความช่วยเหลือชาวบ้าน
แผนระยะสั้น : ตั้งศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยจุฬาฯ ที่ศาลาพระเกี้ยว
• กลุ่มสถาบันวิจัยและศูนย์เครื่องมือฯ รวบรวมเครื่องอุปโภคบริโภคและเรือ(จำนวน23ลำ) ไปช่วยชาวบ้านที่ จ.อยุธยา(2 ต.ค.)
• วิทยาลัยปิโตรเลียมฯ ได้รวบรวมของบริจาคระหว่างวันที่ 1-7 ตุลาคม ประกอบด้วย ของใช้ประจำวัน เครื่องอุปโภคบริโภคที่เป็นของแห้ง เสื้อผ้า กระดาษ น้ำดื่ม นม เป็นต้น มีการจัดระบบแยกหมวดหมู่ แยกของให้ครบตามความต้องการไปช่วยชาวบ้าน ณ บ้านโคกกระเทียม บ้านคอกกระบือ บ้านบางลี่ และบ้านหนองปลิง ตำบลโคกกระเทียม อ.เมือง จ.ลพบุรี (8 ต.ค. 54)
• คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ คณะสัตวแพทย์ฯ 5 สถาบัน ร่วมกับกรมปศุสัตว์ สัตวแพทย์สมาคมฯ สมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีก สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย และสมาคม ชมรมนิสิตเก่าสัตวแพทย์ 6 สถาบัน ออกพื้นที่เขต 1 ที่ประสบอุทกภัย ตั้งแต่เดือน ต.ค.-ธ.ค.
• การให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับภัยน้ำท่วมผ่าน “สถานีวิทยุจุฬาฯ”
• สำนักงานกิจการนิสิต รับบริจาคเงินและสิ่งของ รวมทั้งการออกเรี่ยไร ที่สยามสแควร์ (11 ต.ค.) เพื่อลงไปช่วยเหลือชาวบ้าน
• โครงการ “น้ำเอยน้ำใจ” ของนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน คณะเภสัชศาสตร์ ในการผลิตครีมทาป้องกันเท้าเปื่อยและเชื้อรา จำนวน 200,000 ตลับ
• รวมพลนิสิตอาสาสมัครเพื่อลงไปช่วยบรรจุสิ่งของและขนของขึ้นรถบรรทุก เพื่อกระจายไปตามจุดต่างๆ
- สภากาชาดไทย
- ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ)
- ศูนย์ธรรมศาสตร์
• ชาวจุฬาฯ รวมใจช่วยภัยน้ำท่วม ในเขต4อำเภอ(บ้านหมอ ดอนพุด หนองโดนและเสาไห้)ของจ.สระบุรี ในวันอาทิตย์ที่16 ต.ค.
• ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ออกไปช่วยชาวบ้าน ณ จังหวัดลพบุรี และสระบุรี (พฤหัสฯ ที่ 20 ต.ค.)
• การให้ความช่วยเหลือชุมชน 5 ส
แผนระยะกลางและระยะยาว :
• การระดมชาวจุฬา เพื่อจัดทำแผนการแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากที่ต้นเหตุ อย่างเป็นระบบครบวงจรและยั่งยืน ตั้งแต่ การป้องกัน การเตือนภัย การแก้ไข และการฟื้นฟู
• การลงไปช่วยทำความสะอาด ซ่อมแซมบ้าน การทาสี บูรณะพื้นที่ ต้นไม้และสิ่งแวดล้อม
• การลงไปฟื้นฟูสภาพจิตใจของชาวบ้าน
• จัดหน่วยแพทย์และสาธารณสุขเคลื่อนที่ไปให้บริการ
• การให้ความช่วยเหลือมหาวิทยาลัยและโรงเรียนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ตามความต้องการของแต่ละแห่ง
3. การเตรียมการเพื่อป้องกันอุทกภัยของมหาวิทยาลัย
• การจัดตั้ง War Room (ศูนย์บริหารจัดการภัยพิบัติแห่งจุฬาฯ : Disaster Management Center)
• การทำแผนฯ ป้องกัน (การสำรวจ การสูบน้ำ ถุงทราย ฯลฯ)
รายละเอียดเพิ่มเติม : จดหมายข่าวจุฬาฯ